กฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัยสำหรับอาคารขนาดใหญ่พิเศษและอาคารสูง

กฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัยสำหรับอาคารขนาดใหญ่พิเศษและอาคารสูง

ตามกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัย เป็นเรื่องที่กำหนดขึ้นโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้อาคารเป็นสำคัญที่บังคับให้คารต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนดจะต้องมีการป้องกันอัคคีภัยเอาไว้ในกรณีที่เกิดอัคคีภัยหรือเหตุฉุกเฉินอื่นใด ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้อาคารหรือผู้พักอาศัยอยู่ในอาคารสามารถหนีไฟออกจากอาคารได้ทัน ดังนั้นเพื่อให้มาตการการป้องกันอัคคีภัยของแต่ละอาคารมีประสิทธิภาพที่จะสามารถให้ผู้ใช้อาคารหลบหนีจากอัคคีภัยได้กฎหมายจึงจำเป็นต้องกำหนดคุณสมบัติขั้นต่ำของอาคารแต่ละประเภทเอาไว้โดยสำหรับอาคารขนาดใหญ่พิเศษและอาคารสูงได้มีการกำหนดลักษณะของการป้องกันอัคคีภัยอยู่ในกฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ.2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 ซึ่งสามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ.2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 ได้กำหนดให้การป้องกันอัคคีภัยสำหรับอาคารขนาดใหญ่พิเศษและอาคารสูงต้องมีคุณสมบัติขั้นต่ำดังต่อไปนี้

ข้อ 3 จัดให้มีความกว้างของถนนรอบอาคารไม่ต่ำกว่า 6 เมตร  เพื่อให้รถดับเพลิงสามารถเข้าออกได้สะดวก

ข้อ 16 มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้  ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ 2 ส่วน คือ ตัวส่งสัญญานให้คนทราบ และระบบตรวจจับควันที่สามารถกดส่งสัญญานเองได้

ข้อ 18 มีระบบเก็บน้ำสำรองและหัวรับน้ำ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงสามารถใช้ดับเพลิงได้

ข้อ 20 ติดตั้งเครื่องดับเพลิงเช่น  Sprinkle  System หรือระบบที่เทียบเท่าที่สามารถทำงานเองได้โดยอัตโนมัติ เพื่อการควบคุมเพลิงเบื้องต้น โดยให้สามารถทำงานครอบคลุมได้ทุกชั้นและต้องแสดงไว้ในแบบแปลนของระบบดับเพลิงอัตโนมัติไว้ด้วย

ข้อ 22 มีบันไดหนีไฟจากชั้นสูงสุดลงสู่ดินอย่างน้อย 2 แห่ง  และจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่หาได้ง่ายและไม่มีสิ่งกีดขวาง รวมทั้งต้องสามารถลำเลียงบุคคลทั้งหมดในอาคารออกไปภายนอกอาคตารได้ภายใน 1 ชั่วโมง

ข้อ 23 ผนังและประตูของช่องบันไดหนีไฟภายในอาคารต้องทำจากวัสดุทนไฟ  และไม่ก่อให้เกิดควันไฟ  เช่น  ผนังคอนกรีตเสริมเหล็ก  หรือผนังก่ออิฐทนไฟ

ข้อ 25 ระบบควบคุมควันไฟในช่องบันได  ต้องมีช่องหน้าต่างเพื่อการระบายควันหรือระบบอัดอากาศ  เพื่อช่วยเพิ่มความดันในช่องบันไดให้สูงกว่าภายนอกเป็นการป้องกันควันไม่ให้เข้าไปได้

ข้อ 26 ต้องจัดให้มีป้ายบอกชั้นและป้ายบอกทางหนีไฟที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนน โดยตัวอักษรต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร

ข้อ 27 ประตูหนีไฟต้องทำจากวัสดุทนไฟและเป็นแบบผลักออกสู่ภายนอก พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ที่ทำให้ประตูปิดได้เอง มีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร

ข้อ 29 ดาดฟ้าต้องสามารถใช้เป็นทางหนีไฟที่ต่อเนื่องมาจากบันไดในตัวอาคารได้

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายวิศวะ

โทร 086-807-5928

อ่านบทความเพิ่มเติม https://www.englawyers.com/